Design Kitchen & Home

หมวกนิรภัยที่มีส่วนผสมหลักมาจากขยะประมง


Quantum Start-Up Studio ได้ร่วมมือกับ Koushi Chemical Industry Company Limited, Osaka พัฒนาองค์กรในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1969 ดำเนินธุรกิจจากการใช้ปิโตรเลียมเป็นวัสดุหลักในองค์กรเป็นการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบรับการตั้งคำถามจากสังคมและผู้บริโภคในปัจจุบันว่า ผู้ผลิตพลาสติกจะสามารถเสนอสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทดแทนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเดิมของตนได้หรือไม่ หลังจากจากสืบค้นข้อมูลและทำการวิจัย Quantum เสนอโครงการในการนำขยะจากประมงท้องถิ่นที่มีมากกว่าสี่หมื่นตันต่อปีของหมู่บ้าน Sarufutsu, Hokkaido มาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตหมวกนิรภัยที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติได้ทั้งหมด

วัสดุตั้งต้นโครงการนี้คืออินทรียวัตถุที่เรียกว่าเปลือกหอยเชลล์ ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนต/ CaCO3 เป็นธาตุประกอบหลัก ด้วยกระบวนการบดละเอียดและผสานรวมกับปิโตรเคมีภัณฑ์ตามสูตรเฉพาะรวมไปถึงการออกแบบพิมพ์ในการฉีดพลาสติกขึ้นรูปทำให้ Shellmet มีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในทุกด้าน

ซึ่งการออกแบบลายนูนต่ำบนหมวกให้คล้ายกับลายบนเปลือกหอยเชลล์ช่วยให้หมวกมีความแข็งแรงมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของแคลเซียมคาร์บอร์เนต หมวกจะสะสมความร้อนจากแสงแดดได้ช้ากว่าหมวกพลาสติกทั่วไปและสามารถคลายความร้อนได้ไวกว่า

ตัวหมวกมีน้ำหนักเพียง 4 ขีดเท่านั้น และที่น่าสนใจที่สุดคือการสะท้อนแสงของผิวหมวกที่ทำได้ไม่ต่างจากหาดที่พบได้ทั่วไปในหมู่บ้าน Sarufutsu ที่มักใช้เป็นจุดทำลายเปลือกหอยด้วยการถมที่ดิน และในช่วงเวลาของปีที่แดดจัด ความสว่างวาบสะท้อนจากเปลือกหอยเหล่านั้นจึงเป็นจุดสังเกตได้ชัด

ราคาเพียง 4,800 เยน/ 1,250 บาท ในการใช้ Shellmet ทดแทนการใช้หมวกนิรภัยที่ผลิตมาแต่แบบเดิมจึงได้รับความสนใจอย่างมากจากโครงการระดมทุน (มีการตอบรับมากกว่าทุนที่ตั้งเป้าไว้ถึงหกเท่า) โดยพร้อมส่งสินค้าในเดือนพฤษภาคมนี้  

ภาพ : Quantum Studio, Japan และ TBWA\ Hakuhodo


You Might Also Like...