1.ชุดเครื่องครัวสเตนเลส
- ชุดครัวสเตนเลสเกรด 304 ไม่ทำให้ห้องครัวเกิดความชื้น ไม่มีปัญหาเรื่องบวมหรือพองน้ำ หมดกังวลเรื่องปลวกกิน
- ทำความสะอาดง่าย เช็ดด้วยผ้าแห้งแล้วใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำบิดหมาดๆ แล้วเช็ดซ้ำด้วยผ้าแห้งอีกครั้ง
- หลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาดประเภทสารเคมีที่เป็นกรด เพราะกรดจะทำลายผิวสเตนเลสเป็นจุดคล้ายสนิม
2.วัสดุตกแต่งชุดครัว การเลือกวัสดุกรุผิวหน้าตู้หรือชุดครัวนั้นเป็นตัวบอกสไตล์ชุดครัวนั้นๆ แต่ควรคำนึงถึงอายุการใช้งานเป็นหลัก เช่น
- สเตนเลส : เหมาะกับครัวหนักหรือครัวที่มีความเปียกชื้นสูง ทนต่อกรด-ด่าง สารเคมี และความร้อนมีให้เลือกทั้งสเตนเลสแบบเงาและด้าน ดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย ยังไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
- หินแกรนิต : ไม่ดูดซับน้ำ ทนความร้อน ทำความสะอาดง่าย
- หินสังเคราะห์ : ไม่มีรูอากาศจึงไม่เกิดปัญหาเรื่องความชื้น เชื้อรา หรือกลิ่นอับชื้นภายในห้อง ไม่มีรอยต่อมีความแข็งแรงทนทาน
- ไม้เนื้อแข็ง : เกิดเชื้อราบนเนื้อไม้ อายุการใช้งานสั้นลง เกิดรอยขีดข่วนหรือร่องรอยบนพื้นผิวง่าย
- ลามิเนต : เกิดรอยขีดข่วนง่าย ไม่ทนความร้อน มีรอยต่อ หากติดตั้งไม่เรียบร้อยอาจเกิดปัญหาเรื่องความชื้นหรือความร้อน ทำให้วัสดุปิดผิวบวมและหลุดล่อนออกมาได้
- กระเบื้อง : สิ่งสกปรกและความชื้นสะสมอยู่ตามรอยต่อของแผ่นกระเบื้อง หากจะเลือกควรใช้กระเบื้องที่มีการเคลือบผิวแล้ว เพื่อป้องกันความชื้น
- ปูนซีเมนต์ : เหมาะกับบ้านที่มีการออกแบบทันสมัย และเป็นครัวที่ใช้งานหนัก แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาดเพราะอาจเกิดคราบต่างๆ ฝังบนผิวซีเมนต์กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
3.หน้าบาน
มีให้เลือกหลายชนิดสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ แต่หากเปรียบเทียบกับหน้าบานสเตนเลสแล้วมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน ดีไซน์ทันสมัย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค มีคุณสมบัติที่ลดปัญหาการผุพังของพื้นผิวและความชื้นซึ่งก่อให้เกิดการสะสมของคราบสกปรก
4. ทอป
- ทอปสเตนเลส : เหมาะกับการใช้งานแบบครัวไทย ที่ต้องเผชิญกับความร้อน กลิ่น ควัน คราบอาหารและความชื้น ทำความสะอาดได้ง่าย
- ทอปหินแกรนิต : มีความหนาแน่นค่อนข้างดี แข็งแรง รูพรุนน้อย สีสันสวยงามตามธรรมชาติ
- ทอปหินสังเคราะห์ : แข็งแรง สีสันสวยงาม ไม่มีรูพรุน ป้องกันการดูดซึมน้ำได้อย่างสมบูรณ์ ทนความร้อน กรดและด่าง ไม่ก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค อายุการใช้งานยาวนาน
- ทอปหินอ่อน : มีรูพรุน อัตราในการดูดซึมน้ำค่อนข้างมาก เป็นจุดเริ่มของการเกิดเชื้อราได้ง่าย
- ทอปกระเบื้อง : เชื้อโรคสะสมบริเวณยาแนว ควรหลีกเลี่ยงท็อปที่ไม่มีรอยต่อ หรือไม่ก็เลือกรอยต่อหรือส่วนที่มียาแนวน้อยที่สุด เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
5.ซิงก์/อ่างล้างจาน
ควรคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก อาจเน้นหลุมใหญ่ เพราะทำไม่มีปัญหาคราบน้ำกระเด็นเลอะเทอะ สะดวกต่อการใช้งาน
ควรดูว่าเคาน์เตอร์ชุดครัวใช้แบบใดเช่น หินแกรนิต หินสังเคราะห์ ไม้ หรือจะเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกันกับทอปเพื่อลดรอยต่อและลดปัญหาการผุพังของพื้นผิวที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบสกปรก
หมั่นเช็ดทำความสะอาดให้แห้งหลังใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดคราบน้ำ
6.เครื่องดูดควัน
- เลือกใช้เครื่องดูดควันที่มีระบบฟิลเตอร์สเตนเลสรางสลับตัว U ประกบ ไม่มีปัญหาเรื่องคราบสะสมของน้ำมัน
- เครื่องดูดควันที่มีแผ่นใยหรือฝอยอลูมิเนียมทั่วไป เกิดการสะสมของคราบน้ำมัน
7.ผนังหน้าเตา
- วัสดุปิดผิวสเตนเลสเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด ไร้รอยต่อ ไม่มีคราบสกปรกสะสม ทำความสะอาดง่าย
- กระเบื้องผิวมัน แผ่นใหญ่ ทำความสะอาดง่าย ร่องยาแนวน้อย
- กระเบื้องผิวด้าน แผ่นเล็ก ทำความสะอาดยาก มีรอยต่อและร่องยาแนวเยอะ เกิดการสะสมของเชื้อรา
8.พื้นท็อปหน้าเตา
การเลือกเวิร์คทอปควรเลือกวัสดุเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เพราะไม่มีรอยต่อและร่องยาแนว ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแหล่งสะสมความสกปรก
9.พื้น
กระเบื้องปูพื้นเป็นกระเบื้องที่ผลิตมาเพื่อรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติที่แข็งแกร่งทนทาน ควรเลือกพื้นผิวที่มีความด้านหรือขรุขระ เพราะพื้นที่ในห้องครัวมักสัมผัสกับสิ่งสกปรกทั้งคราบอาหาร น้ำ และน้ำมัน การใช้กระเบื้องประเภทดังกล่าวช่วยป้องกันการลื่นขณะใช้งานได้ดี และควรเว้นร่องยาแนวอย่างน้อยประมาณ 3 มิลลิเมตร เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
เรื่อง วาสสุคนธ์ เอกประดิษฐ์
แฟ้มภาพนิตยสาร @kitchen