Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

สัตวแพทย์-นักวิชาการ แนะบริโภคไก่ปรุงสุก ซื้อจากแหล่งได้มาตรฐาน มั่นใจปลอดภัยจากไข้หวัดนก

สัตวแพทย์ เผยปัจจุบันประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดโรคไข้หวัดนกพร้อมแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ด้านนักวิชาการย้ำรับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุก เลือกซื้อจากร้านจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย มั่นใจได้ว่าปลอดภัย 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดนกล่าสุด ในประเทศจีนพบผู้ป่วยไข้หวัดนกH3N8และมีการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก ชนิดH5N1ในรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)สายพันธุ์รุนแรงในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ เแอฟริกา อเมริกาเหนือ และเอเชีย รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้าน เวียดนาม กัมพูชา และลาว มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2564 

ผศ.น.สพ.ดร.เกรียงไกร วิฑูรย์เสถียร ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมการเลี้ยงและผลิตสัตว์ปีกในประเทศไทยมีมาตรฐาน ปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปถึงกระบวนการเลี้ยงไก่ในฟาร์มระบบปิด ยึดหลักมาตรฐานGood Agriculture Practices (GAP)หรือแนวทางด้านการปฏิบัติที่ดีทางด้านการเกษตรเกี่ยวกับฟาร์มสัตว์ปีก และหลักสวัสดิภาพสัตว์  

สำหรับฟาร์มสัตว์ปีกที่ได้มาตรฐานจะมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System)และมาตรฐานการควบคุมและเฝ้าระวังโรค (Disease Surveillance System)มาเป็นส่วนสำคัญในการวางระบบการป้องกันโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันไข้หวัดนก นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ ยังร่วมมือกับผู้ประกอบการและเกษตรกรได้ใช้ “ระบบคอมพาร์ทเมนต์” มาช่วย ในการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งระบบคอมพาร์ทเมนต์นี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ไทยปลอดจากไข้หวัดนกมานานกว่า10ปี ตอกย้ำถึงการจัดการการเลี้ยงไก่ของไทยว่ามีความปลอดภัย 

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ไม่ทราบประวัติ มีอาการหรือสงสัยว่าป่วย รวมถึงมูลและสารคัดหลั่งจากสัตว์ปีกเหล่านั้นด้วย หากจำเป็นต้องสัมผัสให้ใช้สบู่ล้างมือให้สะอาดทันทีหลังสัมผัสหรือดูแลสัตว์เหล่านี้ 

อย่างไรก็ดี เนื้อไก่ เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่า และราคาไม่แพง สอดคล้องกับที่ รศ.ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แหล่งโปรตีนสำคัญที่คนไทยมักนึกถึง คือ เนื้อไก่ จัดเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพดีหรือโปรตีนชนิดสมบูรณ์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนทั้ง9ชนิด นอกจากนี้ เนื้อไก่ยังประกอบด้วยเกลือแร่และวิตามินต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีโปรตีนเป็นสารที่สำคัญต่อร่างกายเนื่องจากเป็นองค์ประกอบของเซลล์ เนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงเป็นส่วนประกอบของเส้นผมและผิวหนัง อีกบทบาทสำคัญของโปรตีนที่น่าสนใจ คือการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่างๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกาย 

นอกจากนี้ รศ.ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล แนะนำเพิ่มเติมว่า ควรเลือกซื้อเนื้อไก่จากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะร้านค้าหรือผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ที่สำคัญต้องบริโภคเนื้อไก่ที่ปรุงสุกแล้ว หรือผ่านความร้อนอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า70องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย5นาทีเพื่อหลีกเลี่ยงจุลินทรีย์ก่อโรค ลดความเสี่ยงอันตรายจากโรคในสัตว์ปีก และหากอาหารที่ปรุงสุกแต่ทิ้งไว้นานเกิน3ชั่วโมง ควรนำอาหารไปอุ่นให้ร้อนอีกครั้งก่อนรับประทาน นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญเรื่องสุขลักษณะที่ดีในการปรุงอาหาร เช่น การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเตรียมอาหาร การเลือกวัตถุดิบที่สะอาดได้มาตรฐาน และการล้างมือสม่ำเสมอ

Kitchen & Home

Kitchen & Home

หลากหลายเรื่องราวน่ารู้คู่ครัว การตกแต่งบ้าน งานดีไซน์ และไลฟ์สไตล์