Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

KU.UDC ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน

KU.UDC ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน

ถ้าพูดถึง Universal Design หรือการออกแบบเพื่อมวลชน หลายคนคงคุ้นหูกับคำนี้ดี Universal Design คือการออกแบบเพื่อการใช้งานอย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกคน ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้บาดเจ็บ รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดด้านร่างกายต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเอื้อความสะดวกให้ใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นและเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อมรอบตัว หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ดังนั้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนจัดตั้งศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design Center) โดยร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก 7 มหาวิทยาลัย หนึ่งในนั้นคือศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU.UDC)  

เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ อาจารย์โอ๋-รศ. ดร. นวลวรรณ ทวยเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU.UDC) และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแสงสว่างสำหรับผู้สูงอายุ

ที่มาของ  KU.UDC

เราเป็นเครือข่ายมาจาก UDC : Universal Design Center ศูนย์การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน โดยมีแม่ข่ายคือรองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ อาจารย์จากภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้พิการ  และเป็นหัวหน้าศูนย์ Chula UDC ศูนย์การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ซึ่งศูนย์ Universal Design Center มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ทำการออกแบบเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน โดยแต่ละศูนย์จะมีอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละที่ โดย KU.UDC มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเน้นเกี่ยวกับผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง การออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม และซึมเศร้า หรือออทิสติก สอดคล้องกับการทำงานก่อนหน้านี้ที่อาจารย์ได้ทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการใช้แสงและสีบำบัดในผู้สูงอายุและผู้พิการ

โดยเน้นผู้พิการทางสมองเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคสมองเสื่อม เด็กที่มีภาวะผิดปกติทางด้านสมอง เช่น ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม เด็กบกพร่องทางสติปัญญา สมาธิสั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องจิตเวชที่เกี่ยวกับเรื่องสมอง เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พอจัดตั้งศูนย์ KU.UDC เราจึงเน้นเรื่องนี้โดยการให้ความรู้ ใช้การออกแบบเรื่องแสง สีที่ช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการกระวนกระวาย การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยเยียวยา และความปลอดภัย

กิจกรรมของศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน KU.UDC  

กิจกรรมหลักของ UDC คือการประชุมทางวิชาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนในเรื่องต่างๆ  ตลอดจนงานสัมมนาต่างๆ  โดยในส่วนของศูนย์การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน KU.UDC ที่ผ่านมาเราได้งบประมาณจาก สสส. เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมสิ่งพิมพ์ หนังสือแจกฟรี และดาวน์โหลดฟรีทางออนไลน์ เช่น หนังสือแนวทางการออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม หนังสือคำแนะนำปรับบ้านอย่างไร? ให้สูงวัยภาวะซึมเศร้า กิจกรรมอบรมสัมมนาเรื่องสมองเสื่อม กิจกรรมอบรมออนไลน์ “อยู่ดี (UD) วิถีชีวิตใหม่”

ในหัวข้อต่างๆ อาทิ ออกแบบบ้านอย่างไรให้สูงวัยภาวะสมองเสื่อม, การออกแบบแสงสว่างวิถีชีวิตใหม่, ฤๅซึมเศร้า เราจะออกแบบได้ และกิจกรรม Memory Life Memory Box ซึ่งเป็นกิจกรรมการเขียนบรรยายถึงความทรงจำดีๆ ที่อยากเก็บใส่กล่องแห่งความทรงจำไว้ เรื่องที่เขียนได้ประทับใจก็จะได้รับรางวัลหนังสือแนวทางการออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม และผู้ที่เขียนได้ประทับใจที่สุดจะได้รับการสร้างมุมแห่งความทรงจำพร้อมกล่องแห่งความทรงจำฟรี 1 พื้นที่ เป็นต้น ปัจจุบันมีบ้านที่ทางศูนย์ฯ เข้าไปช่วยปรับให้คำแนะนำแล้วกว่า 20 หลัง รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมจะช่วยอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องสมองด้วย

การออกแบบสภาพแวดล้อม การใช้แสงและสีบำบัด  

สำหรับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน ประเด็นแรกที่สำคัญคือเรื่องความปลอดภัย เพราะผู้สูงอายุสภาวะสมองเสื่อมมักจะหนีออกจากบ้าน เนื่องจากคิดย้อนวัยว่าต้องกลับบ้านที่อยู่ตอนเด็กๆ เลยถือเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง

อย่างแรกคือประตูก่อนออกนอกบ้าน สิ่งที่ทำได้คือการพราง เราอาจจะนำม่านมาพรางเพื่อไม่ให้มองเห็นว่าเป็นประตู หรือทำประตูโดยใช้สีเดียวกับผนังเพื่อพรางไม่ให้เห็นเป็นประตูสำหรับออกไป หรือแม้แต่การสร้างรั้ว ในต่างประเทศจะนำต้นไม้มาพรางไว้เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยปีนหนีออก

ส่วนประตูที่ต้องการให้ไปก็จะเป็นการใช้สัญลักษณ์สี และติดสัญลักษณ์ที่ผู้ป่วยจำได้ โดยจะเน้นสีสันสดใส สีสันชัดๆ คอนทราสต์ระหว่างสีและวัสดุต่างๆ สีที่ควรใช้คือสีส้ม สีเหลือง เพราะในผู้สูงอายุจะสามารถมองเห็นสีส้ม สีเหลืองได้ชัดเจนอยู่ และจะมีทฤษฎีการค้นหาเส้นผ่าน หรือ Wayfinding เพื่อช่วยให้เคลื่อนไหวและจำทางได้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องแสงธรรมชาติที่เข้ามาซึ่งจะช่วยลดอาการกระวนกระวายในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้ แต่ต้องเป็นช่วงเวลาด้วย สีของแสงก็เช่นเดียวกัน เช่น ตอนเช้าช่วงเวลา 9 โมงก็จะเป็นแสงที่สีเย็นๆ ขาวๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความตื่นตัว กระตือรือร้น

พอตอนกลางคืนจะเป็นแสงสีวอร์ม เหมาะกับการพักผ่อน ทำให้เกิดอาการง่วง และอาการกระวนกระวายต่างๆ ก็จะลดลง หรือวิวธรรมชาติก็ช่วยลดอาการกระวนกระวายในผู้ป่วยสมองเสื่อมได้เช่นกัน วิวธรรมชาติยังมีส่วนช่วยเด็กที่มีภาวะออทิสติก หรือคนที่มีภาวะโรคซึมเศร้าได้ด้วย เรียกว่าเป็นธรรมชาติบำบัด

ในขณะที่การทำสภาพแวดล้อมให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกันคือความปลอดภัย เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นชนวนกระทบจิตใจและทำให้เกิดอาการ แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น สังคมที่เร่งรีบ ความกดดัน และการเลี้ยงดูในวัยเด็ก รวมทั้งสภาพแวดล้อม ดังนั้นการนำเรื่องแสงและสีมาบำบัดผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าจะมีปัจจัย 5 ประการคือ

1. สีเขียว ช่วยให้ผู้ป่วยสบายตา สบายใจ

2. เรื่องแสงธรรมชาติ งานวิจัยต่างประเทศบอกไว้ว่าห้องผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับแสงธรรมชาติกับที่ไม่ได้รับแสงธรรมชาติส่งผลให้การปรับลดยาต่างกัน แต่ต้องเป็นแสงธรรมชาติในช่วงเช้าประมาณ 08.00-10.00 น.

3. ต้นไม้ ที่ช่วยลดภาวะของอารมณ์และให้ความสดชื่น

4. พื้นที่กิจกรรม ที่จะช่วยให้ได้ผ่อนคลาย เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่กังวล ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็อาจจะมีกิจกรรมลานกลางบ้านที่มีต้นไม้ สามารถนั่งเล่นได้ด้วย เวลาคนผ่านมาก็คุยกันได้

5. ตู้ความหวัง เป็นพื้นที่ที่บรรจุความทรงจำดีๆ ซึ่งการมีมุมเล็กๆ ในจุดที่มองเห็นได้ง่ายด้วยการบรรจุความหวัง ภาพถ่าย สิ่งของที่ส่งผลให้รู้สึกถึงความภูมิใจก็จะช่วยกระตุ้นให้มีความสุขได้มากขึ้น

ฝากศูนย์ KU.UDC

หากสังเกตเห็นพ่อแม่พี่น้องหรือคนรักรอบๆ ตัวมีความผิดปกติด้านสมอง ไม่ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม ซึมเศร้า จิตเวชทางด้านสมอง หรือแม้กระทั่งมีอาการติดเกม

ถ้าต้องการความรู้ด้านนี้สามารถติดต่อมาที่ศูนย์ KU.UDC หรืออินบ็อกซ์เข้ามาพูดคุยกันได้ เราจะมีแอดมินสถาปนิกมาตอบและให้คำแนะนำเบื้องต้น ทั้งเรื่องการปรับบ้าน ปรับสภาพแวดล้อม

ขณะเดียวกันในสังคมก็อยากให้ทุกคนคอยเป็นหูเป็นตา เพราะเท่าที่สัมผัสกับผู้ป่วยเช่นผู้ป่วยสมองเสื่อม ถ้าสังเกตเห็นในระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาหายขาดได้ สุดท้ายก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเอง ดูแลสมองของเราไม่ให้ทำงานหนักหรือเครียดเกินไป และมีสุขภาพจิตที่ดี เพียงเท่านี้เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข  

สามารถเข้าไปดูกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน KU.UDC  ได้ที่ https://www.facebook.com/KU.UDC/ หรือโทร. 09 4919 4642

nalin

nalin

อยู่วงการสิ่งพิมพ์มา 24 ปี เริ่มตั้งแต่ทำหนังสือพิมพ์ยุคพิมพ์ดีด พัฒนามาเป็นคอมพิวเตอร์ ตอนนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัล โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนเราก็ต้องพร้อมปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่เช่นกัน