อิเกีย ประเทศไทย จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปสุดพิเศษสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นสมาชิก IKEA Family มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กๆ ผ่านการเล่นอย่างมีคุณภาพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Learning by playing” เพราะอิเกียเชื่อว่าการเล่นคือการเรียนรู้ โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมแบ่งปันความรู้ด้านการเล่นของเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะต่างๆ ของเด็กๆ อย่างเหมาะสม พร้อมรับฟังเคล็ดลับอีกมากมายในการสร้างสภาพแวดล้อมการเล่นที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้เชิญนักออกแบบตกแต่งภายในจากอิเกียมาร่วมแชร์เทคนิคการจัดบ้านให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้อีกด้วย
บทบาทของพ่อแม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย
พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงปฐมวัย โดยกลุ่มคนเหล่านี้มีหน้าที่หมั่นดูแล สังเกตและพัฒนากระบวนการการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้านและเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสมวัย ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีต่างๆ มีบทบาทสำคัญในชีวิตของทั้งพ่อแม่และเด็กๆ ในขณะเดียวกัน การเล่นที่กระตุ้นให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายและเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆ อย่างครบถ้วนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม
อาจารย์ ดร. ประภัสสร พวงสำลี ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “พ่อแม่ที่กำลังเลือกซื้อของเล่นให้เด็กๆ นอกจากจะเลือกตามความสนใจของเด็กๆ แล้ว อาจจะเลือกของเล่นที่พ่อแม่สามารถร่วมเล่นด้วยได้ เพราะจะช่วยสร้างความอบอุ่นแน่นแฟ้นในครอบครัว ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดปัญหาการติดหน้าจอของเด็กๆ และเมื่อถ้าพ่อแม่เล่นอย่างสนุกสนานพร้อมเสียงที่ดังสมจริง ประกอบกับสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน จะทำให้เด็กๆ รู้สึกสนุกกว่าการดูหน้าจอ”
อาจารย์ ดร. ประภัสสร ให้คำแนะนำสำหรับพ่อแม่เรื่องการติดหน้าจอของเด็กๆ เพิ่มเติมว่า “การที่เด็กๆ ดูหน้าจอจนติดเป็นนิสัยจะทำให้ไม่เกิดการโต้ตอบ ไม่สร้างการมีส่วนร่วมของเด็กๆ และอาจทำให้พัฒนาการไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ พ่อแม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยการเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็กๆ ระหว่างการดูหน้าจอ เพื่อกดหยุดหน้าจอและอธิบายเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับเด็กๆ ถึงสิ่งที่กำลังดู เพื่อสร้างการเรียนรู้และการโต้ตอบสองทาง นอกจากนี้ พ่อแม่ยังสามารถลดการใช้หน้าจอของเด็กๆ ได้ด้วยการเชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขากำลังรับชมกับสิ่งของรอบตัวที่สามารถหยิบจับได้ เพื่อที่เด็กๆ จะได้ฝึกประสาทสัมผัส เรียนรู้ลักษณะพื้นผิวของสิ่งนั้นจริงๆ และเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน”
ในส่วนของความรู้ด้านการเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย อาจารย์ ดร. ประภัสสร ได้แบ่งเป็นคำแนะนำสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก ดังนี้
- เด็กในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ พ่อแม่ของเด็กควรเข้าไปเล่นกับลูกอย่างถึงเนื้อถึงตัว เพื่อสร้างความอบอุ่น ความผูกพัน และพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมการเล่นคนเดียว โดยการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรเน้นสร้างพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยพ่อแม่สามารถใช้น้ำเสียงที่สมจริงและหลากหลายกับเด็กๆ ในระหว่างการเล่นเพื่อกระตุ้นจินตนาการ เพราะแม้ว่าเด็กในวัยนี้จะไม่สามารถตอบโต้ได้ แต่สามารถจดจำและคิดตามได้ และเมื่อวันหนึ่งที่เด็กๆ พร้อม เขาจะพูดคำที่จดจำเหล่านั้นออกมา ทั้งนี้ การเล่นของเด็กๆ ในช่วงวัยนี้จะต้องระมัดระวังของเล่นที่เด็กๆ สามารถหยิบเข้าปาก เพราะอาจเกิดอันตรายได้
- เด็กวัย 3-4 ขวบ หรือวัยอนุบาลที่เริ่มมีกฎกติกาต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เด็กในวัยนี้สามารถเรียนรู้เรื่องการแพ้ชนะ และการให้อภัย จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับปลูกฝังการเรียนรู้ด้านการจัดการอารมณ์ และทักษะในการเข้าสังคม ผ่านการเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกครอบครัวอย่างเพื่อนๆ ที่โรงเรียน โดยพ่อแม่สามารถร่วมเล่นและทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเพื่อสอนทักษะการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
หลักการในการเลือกของเล่น
ของเล่นมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็ก ตลอดถึงการมอง การได้ยิน การส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ซึ่งนับเป็นตัวช่วยสำคัญที่ส่งเสริมทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และการสื่อสาร นอกจากการเลือกของเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการแล้ว พ่อแม่ควรคำนึงถึงหลักความปลอดภัยอีกด้วย โดยมีหลักการและข้อควรระวังสำหรับการเลือกของเล่นที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
- ระวังของเล่นที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะหากเล่นผิดวิธี อาจมีโอกาสอุดตันทางเดินอาหารและหลอดลมได้
- ของเล่นที่มีสายยาว อาจขดเป็นวงและรดคอเด็กทำให้เกิดอันตรายได้
- ของเล่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พึงระวังของเล่นบางประเภทที่เติมสารเคมีเพื่อต้องการยืดอายุการใช้งาน หรือการเติมสีสังเคราะห์เพื่อความสวยงาม
- ของเล่นประเภทที่มีความรุนแรง เช่น ปืนอัดลม ปืนลูกดอก ระเบิด หรือของเล่นที่มีเสียงดังเกินกว่าความปลอดภัยของเด็ก (มากกว่า 110 เดซิเบล) เพราะอาจทำลายประสาทการรับเสียง
- ของเล่นที่มีลักษณะแหลมคม อาจจะทำให้เด็กๆ เกิดอาการบาดเจ็บได้
ความสำคัญของการจัดบ้านเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
สภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเด็กอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการจัดสรรพื้นที่ในบ้านให้ปลอดภัยและมีสุขภาวะที่ดีจะช่วยเอื้อต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมีนัยยะสำคัญ
คุณพรรณิสา จันทเสนา นักออกแบบตกแต่งภายใน สโตร์อิเกีย บางนา กล่าวว่า “อิเกียยินดีที่ได้เห็นการตอนรับเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปจากสมาชิก IKEA Family ทั้งนี้ อิเกียเชื่อว่าการเล่นเป็นส่วนสำคัญในการเดินทางของเด็กไปสู่การค้นพบและการเรียนรู้ และยังเป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญ การจัดเวิร์คช็อปในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้พ่อแม่และผู้ปกครองได้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย ตลอดถึงความสำคัญจากการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยอิเกียมุ่งมั่นที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของเล่นเพื่อให้รองรับการเล่นของเด็กๆ ทุกวัย เพื่อให้พวกเขาได้ปลดปล่อยศักยภาพอย่างเต็มที่ผ่านการเล่น พร้อมเสริมสร้างการเล่นตามจินตนาการและกระตุ้นการเรียนรู้ อิเกียหวังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อพัฒนาการและเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของเด็กๆ ทุกคน”
คุณพรรณิสายังได้ร่วมแชร์เคล็ดลับจากอิเกียเพื่อช่วยจัดสรรพื้นที่สำหรับการเล่นในบ้านและการจัดบ้านที่ส่งเสริมการเล่นของเด็กๆ อย่างเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น
- แยกของเล่นออกจากข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ในบ้านที่อาจเป็นอันตราย หรืออาจะเลือกใช้ที่ครอบปลั๊กไฟในบริเวณที่เด็กๆ เล่น เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต
- ความสว่างที่เพียงพอและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม แนะนำให้จัดวางเฟอร์นิเจอร์โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทในห้องที่เพียงพอ
- แยกพื้นที่สำหรับการเรียนและเล่นออกจากกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างวินัยสำหรับเด็ก เช่น บริเวณสำหรับเรียนหนังสือ ควรมีโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสมสำหรับสรีระของเด็กๆ มีชั้นวางหรือตู้เก็บของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนปลอดโปร่งและมีสมาธิ ในขณะที่พื้นที่สำหรับการเล่นนั้นควรมีพื้นที่ให้เด็กๆ ได้ขยับตัวอย่างเต็มที่
- พื้นที่สำหรับของเล่นบทบาทสมมุติ การเล่นบทบาทสมมุติจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการและการส่งเสริมการขยับร่างกาย เช่น ชุดเครื่องครัวของเล่น ที่สามารถวางไว้ใกล้ห้องครัว เพื่อที่เด็กๆ จะได้ร่วมเล่นทำอาหารไปพร้อมกับพ่อแม่ที่กำลังทำอาหาร สร้างการเรียนรู้ พูดคุยถึงสิ่งที่กำลังเล่น เพื่อฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ผู้ปกครองต้องจัดสรรพื้นที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักอยู่เสมอ
อิเกียสนับสนุนให้ลูกของคุณสนุกและเสริมพัฒนาการได้ง่ายๆ ที่บ้าน พร้อมนำเสนอของเล่นเด็กที่ปลอดภัยและสนุก เพื่อให้แรงบันดาลแก่ใจเด็กๆ ให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะการเข้าสังคม และการคิดเป็นตรรกะผ่านการเล่นบทบาทสมมติ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการเคลื่อนไหว
ผู้ที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปสุดพิเศษที่จัดขึ้นในหัวข้อที่หลากหลายตลอดปี เพียงสมัครสมาชิก IKEA Family ที่ https://family.ikea.co.th/th/login พร้อมรับสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ รับคะแนนโบนัส 10 คะแนน ต่อยอดใช้จ่ายทุก 10 บาทที่สโตร์อิเกีย อิเกียออนไลน์ ร้านอาหารอิเกีย บิสโทร พร้อมสะสมแต้มมากขึ้นในเดือนเกิด และสินค้าราคาพิเศษที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้ช้อปทุกเดือน