‘มาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร’ ยกย่อง150 บริษัทอาหารระดับโลกที่เป็นผู้นำด้านสวัสดิภาพสัตว์ ประเทศกลุ่มภูมิภาค อาทิ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทย

• BBFAW จัดอันดับผลการประเมินบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหารทั่วโลกตามนโยบาย แนวปฏิบัติ และผลการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ โดยการวัดมาตรฐานนี้ครอบคลุมบริษัทจากประเทศจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

• บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงตามหลังภูมิภาคอื่น ๆ  โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 9% แม้จะเพิ่มขึ้น 1% จากปี 2023

• 90% ของบริษัทในภูมิภาคยังคงอยู่ในอันดับที่ 5 และ 6ซึ่งบ่งชี้ถึงความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการกำหนดนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างเป็นทางการ หรือการให้รายงานที่มีสาระสำคัญ

• ผลกระทบด้านการดำเนินงาน (Performance Impact) ซึ่งเป็นเสาหลักที่มีน้ำหนักมากที่สุดใน BBFAW (55%) ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ โดยเอเชียแปซิฟิกได้คะแนนเพียง 4% ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการดำเนินการและการรายงานเกี่ยวกับแนวปฏิบัติสวัสดิภาพที่ดีขึ้น เช่น พันธุ์ไก่เนื้อที่เติบโตช้ากว่า หรือการจำกัดเวลาในการขนส่ง

• ฟอนเทียร่า (Fonterra) เป็นบริษัทที่โดดเด่นแตกต่างจากบริษัทอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยก้าวขึ้นจากากรจัดอันดับผลกระทบอันดับ เป็นอันดับ และอันดับที่ 4 เป็นอันดับที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าที่สำคัญเป็นไปได้ แม้ในภูมิภาคที่สวัสดิภาพสัตว์ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

รายงานฉบับล่าสุดของ Business Benchmark on Farm Animal Welfare (BBFAW) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้เผยให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่มั่นคงด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มทั่วอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก รวมถึงอันดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

กลุ่มบริษัทชั้นนำแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานด้านมนุษยธรรมของสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มว่าเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ อาทิ การจัดพื้นที่ให้สัตว์มากขึ้น หรือการใช้วิธีการเชือดที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทอาหารขนาดใหญ่จำนวนมาก (79%) อย่าง เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ประเทศไทย) และเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ (ญี่ปุ่น) ยังคงอยู่ในอันดับที่ และ เป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมองหาโอกาสในการกำหนดนโยบายและการเปิดเผยข้อมูลที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางด้านสวัสดิภาพสัตว์

BBFAW คืออะไร

BBFAW คือการประเมินประจำปีชั้นนำระดับโลกเกี่ยวกับนโยบาย แนวปฏิบัติ และผลการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มของอุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำการประเมินบริษัทอาหารระดับโลก 150 แห่งตามเกณฑ์ 51 ข้อและ เสาหลัก และจัดอันดับใน 6 ระดับ (ดูตารางผลลัพธ์ทั้งหมดท้ายบทความ) โปรแกรมนี้ได้รับการสนับสนุนโดยพันธมิตร Compassion in World Farming และ FOUR PAWS โดยผลลัพธ์ในปีนี้เป็นการประเมินครั้งที่สองนับตั้งแต่ BBFAW ได้นำเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นมาใช้ซึ่งให้ความสำคัญไปที่ผลการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพของบริษัทและแนวทางในการลดการพึ่งพาอาหารจากสัตว์

เอเชียแปซิฟิก: จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศไทย

คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคในปี 2024 คือ 9% ซึ่งต่ำกว่าลาตินอเมริกา (20%) อเมริกาเหนือ (12%) ยุโรป (20%) และสหราชอาณาจักร (41%)

ในภูมิภาคดังกล่าวนี้ ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างฟอนเทียร่า (Fonterra)ประเทศนิวซีแลนด์ ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่โดดเด่นจากรายงานและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ฟอนเทียร่า (Fonterra) ได้เลื่อนจากอันดับที่ 4 เป็นอันดับที่ และปรับปรุงอันดับผลกระทบจาก E เป็น B ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ในภูมิภาคยังคงมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหรืออยู่ในอันดับเท่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของบริษัทอาหารส่วนใหญ่มีความคืบหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป บริษัท 118 แห่ง (79%) รวมถึงบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ประเทศไทย) มารุฮะ นิชิโระ (ญี่ปุ่น) เมจิ โฮลดิ้งส์ (ญี่ปุ่น) อยู่ใน อันดับที่ 5 และ 6 ซึ่งบ่งชี้ถึงความคืบหน้าเล็กน้อยในการกำหนดนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างเป็นทางการ หรือการให้รายงานที่มีความสำคัญ ซึ่งรวมถึงบริษัท 22 แห่งทั่วโลก (15%) ที่ยังไม่ได้เผยแพร่นโยบายสวัสดิภาพสัตว์โดยรวมอย่างเป็นทางการ

สถาบันจัดอันดับระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์ (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare: BBFAW) ในปี 2023 BBFAW ได้ปรับปรุงมาตรฐานการจัดอันดับโดยการกำหนดมาตรฐานใหม่ เพื่อเน้นการส่งเสริมการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังได้ขยายชุดคำถามเกี่ยวกับ “ผลกระทบต่อประสิทธิภาพ” และนำเสนอหลักการประเมินใหม่ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สำหรับการพัฒนาในปี 2024 ยังคงยึดมาตรฐานเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญประการใด

การจัดอันดับผลกระทบ ‘Impact Rating’ ของ BBFAW ให้คะแนนบริษัทตั้งแต่ ‘A’ ถึง ‘F’ ตามผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อสวัสดิภาพสัตว์ คะแนนนี้อ้างอิงจากคำถามเกี่ยวกับผลกระทบด้านประสิทธิภาพ เช่น สัดส่วนของแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบปลอดกรงในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท สัดส่วนของโคนมที่ไม่ถูกตัดเขาหรือเผาเขา และสัดส่วนของสุกรที่ไม่ถูกตัดหาง

ในปี 2567 สามบริษัทที่มีอันดับสูงสุดใน Impact Ratings (Marks & Spencer, Premier Foods และ Fonterra) ซึ่งได้รับเกรด ‘B’ เป็นครั้งแรก โดยในปีนี้มีบริษัททั้งหมด 14 แห่ง (คิดเป็น 9%) ที่ได้รับการปรับอันดับ Impact Rating ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fonterra ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมนมเป็นหลัก ได้ให้ความสำคัญกับการรายงานและผลกระทบในระดับโลกอย่างมาก ส่งผลให้ Impact Rating เพิ่มขึ้นถึงสามอันดับ (จาก ‘E’ เป็น ‘B’)

นิกกี้ อามอส ผู้อำนวยการบริหาร BBFAW กล่าวว่า “นี่เป็นปีที่สองของการประเมินนับตั้งแต่ BBFAW ได้กำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้น และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ตอบสนองในเชิงบวก โดยมี 14 บริษัทที่ได้เลื่อนอันดับ และอีก 14 บริษัทที่พัฒนา Impact Rating ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสัตว์ในด้านการมีพื้นที่มากขึ้นในการเคลื่อนไหว การลดการทำทารุณกรรม การตัดอวัยวะ หรือการขนส่งทางไกลแบบมีชีวิต แต่บริษัทเองยังได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างชื่อเสียงในหมู่ผู้บริโภค หรือการเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในปีนี้อาจเป็น ‘Atlantic Gap’ โดยสหราชอาณาจักรเป็นภูมิภาคที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด”

ผลการจัดอันดับ BBFAW ประจำปีนี้เผยให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนในการแสดงผลระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ โดยบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรครองอันดับในอันดับสูงสุดและมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมที่ 41% สำหรับบริษัทจากยุโรปและละตินอเมริกามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 20% บริษัทในอเมริกาเหนือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 12%และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 9%

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีบริษัท 19 แห่งจาก 21 แห่ง (90%) ที่อยู่ในอันดับ 5 และ 6 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ในภูมิภาคนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจนี้ยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและศักยภาพที่บริษัทต่าง ๆ จะสามารถเป็นผู้นำได้ สังเกตได้ว่า หนึ่งในสามบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ “B” ของ Impact Rating ในระดับโลกอย่าง Fonterra จากนิวซีแลนด์ แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญเป็นไปได้ในภูมิภาคนี้เมื่อสวัสดิภาพสัตว์ได้รับการให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

โครงการธุรกิจอาหารของ CIWF สนับสนุนบริษัทในการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์Compassion in World Farming (CIWF) ส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปฏิบัติตามแบบอย่างของผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Fonterra โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการดำเนินงานและความโปร่งใสด้านสวัสดิภาพสัตว์ เมื่อความตระหนักในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ธุรกิจอาหารที่เริ่มดำเนินการในขณะนี้จะสามารถสร้างความไว้วางใจ ความยืดหยุ่น และผลกระทบในระยะยาวในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น 

• บริษัท 14 แห่ง (คิดเป็น 9%) ได้เลื่อนขึ้นไปอยู่ในอันดับที่สูงขึ้น โดยมี บริษัทที่สามารถเพิ่มคะแนนเฉลี่ยรวมได้ถึง 5%หรือมากกว่า นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยรวมของ 20% ของบริษัทลำดับต้นๆเพิ่มขึ้น 4% ในปีนี้เป็น 43% ขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมของ 20% ของบริษัทลำดับท้าย ๆ ยังคงเดิมที่ 3% 

• ในปี 2023 บริษัท 67 แห่ง (45%) เชื่อว่าสัตว์ในฟาร์มมีความสามารถในการรับรู้ความรู้สึก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 54 บริษัท (36%) ในปี 2023

• ปัจจุบันมีเพียง 42% ของบริษัทที่มีนโยบายในการยุติการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรค (Prophylactic) และการใช้ในกลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยง (Metaphylactic) แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะที่มากขึ้นก็ตาม

• ผลลัพธ์จากชุดคำถามที่ประเมินการพึ่งพาเนื้อสัตว์ ปลา นม และไข่ที่ลดลงของบริษัทต่าง ๆ พบว่า 29% ของบริษัทที่ได้รับการประเมิน (43 บริษัท) รับรู้ว่าการลดการพึ่งพาอาหารจากสัตว์จัดเป็นประเด็นสำคัญทางธุรกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 25% ในปี 2023 บริษัท Waitrose และ Hilton Food Group เป็นสองบริษัทที่ได้รับคะแนนสูงถึง 85% จากคะแนนเฉลี่ยเพียง 11%

• กลุ่มธุรกิจย่อยที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดในการประเมินคือ “ผู้ผลิตและผู้แปรรูป” โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 21% ตามมาด้วย “ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง” ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับสองที่ 17% นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่า ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งในสหราชอาณาจักร ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดในด้านการกำกับดูแลและการบริหารจัดการ โดยได้รับคะแนนมากถึง 81% ในหมวดนี้ ในขณะที่ “ร้านอาหารและบาร์” มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมต่ำที่สุดที่ 16% อย่างไรก็ตาม คะแนนของกลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้นจาก 14% ในปี 2023 และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมี บริษัทจาก 14 บริษัทในกลุ่มร้านอาหารและบาร์ที่ได้เลื่อนลำดับขึ้น จากการจัดลำดับประจำปี 2024 ทั้งนี้รวมถึง Greggs PLC ที่สามารถขยับขึ้นมาอยู่ในลำดับที่สองได้ในปีนี้

• บริษัท 128 แห่ง (คิดเป็น 85%) มีนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างเป็นทางการมากถึง 46% จาก 68 บริษัทที่ได้รับการประเมินตั้งแต่ได้มีการจัดอันดับโดย BBFAW ในปี 2012

• แต่ละสายพันธุ์มีเป้าหมายด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ต่างกันดังต่อไปนี้:

สุกร: บริษัทเพียง 11% (คิดเป็น 15 จาก 137 บริษัท) ที่มีสุกรในห่วงโซ่อุปทานของตนได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและมีกรอบเวลาสำหรับการยุติการใช้คอกขังแม่พันธุ์ (เพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2023)

โคนม: บริษัทเพียง 22% (คิดเป็น 31 จาก 142 บริษัท) ที่มีโคนมในห่วงโซ่อุปทาน ได้กำหนดเป้าหมายระยะเวลาเพื่อลดหรือเลิกการล่ามโซ่แล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2023)

ไก่ไข่: บริษัทกว่า 70% (คิดเป็น 99 จาก 149 บริษัท) ที่มีไข่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ได้กำหนดเป้าหมายโดยมีกรอบเวลาชัดเจนเพื่อให้ได้ไข่จากการเลี้ยงแบบระบบปลอดกรง 100% หรือได้บรรลุเป้าหมายแล้ว (ซึ่งลดลงจากในปี 2023 ที่ 73%)

ไก่เนื้อ: 30% ของบริษัท (40 จาก 134) ที่มีไก่เนื้อในห่วงโซ่อุปทาน ได้ตั้งเป้าหมายโดยมีกรอบเวลาชัดเจนในการปฏิบัติตามพันธสัญญา Better Chicken Commitment หรือ European Chicken Commitment(ซึ่งลดลงจากในปี 2023 ที่ 31%)

คุณฟิลิป ลิมเบอรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับโลก องค์กรการกุศลด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ Compassion in World Farming (CIWF) กล่าวว่า “ธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการยกเลิกการใช้กรง และเรากำลังดำเนินการได้อย่างดี เนื่องจากผลกระทบจากวิธีการปัจจุบันส่งผลต่อผู้คน สัตว์ และโลก การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการโดยเร็ว ทุกบริษัทต่างมีความสามารถในการผลักดันความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่โดยการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ที่สูงขึ้นและการเลี้ยงแบบปลอดกรง พร้อมเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืชในพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์จากโปรตีน และการใช้ระบบเกษตรกรรมฟื้นฟู หากเราทุกคนร่วมมือกัน เราจะสามารถสร้างระบบอาหารที่คำนึงถึงสัตว์ รักษ์โลก และสร้างอนาคตดีให้กับทุกคน”

โจเซฟ ฟาบิแกน ประธานคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Four Paws กล่าวว่า “FOUR PAWS ยังยืนหยัดที่จะสนับสนุนความมุ่งมั่นของ BBFAW ในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหาร และการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและปราศจากการทดลองกับสัตว์ เป็นเรื่องที่น่าประทับใจที่ได้เห็นกลุ่มบริษัทชั้นนำหลายแห่งนำร่องใช้กลยุทธ์และการดำเนินการที่ทันสมัยเพื่อแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ในฟาร์มกว่า 80พันล้านชีวิตที่ถูกเชือดเพื่อเป็นอาหารทุกปี ผมดีใจที่เห็นบริษัทจำนวนมากขึ้นเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการลดการพึ่งพาอาหารที่มาจากสัตว์ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังเป็นโอกาสที่จะปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ในฟาร์มอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทส่วนมาก ความเป็นอยู่ของสัตว์ยังคงเป็นเพียงแค่คำพูดเท่านั้น จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและมีการกระทำที่ชัดเจนในเรื่องนี้ FOUR PAWS ยังคงสนับสนุนและต่อสู้เพื่อยุติการกระทำที่โหดรายในฟาร์มอุตสาหกรรม รวมถึงการลดจำนวนสัตว์ฟาร์มทั่วโลก”

BBFAWได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่บริหารสินทรัพย์มากกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะดำเนินการติดต่อกับบริษัทต่าง ๆ ในปีถัดไปเพื่อผลักดันการพัฒนา

โรเบิร์ต-อเล็กซานด์ ปูจาด นักวิเคราะห์ ESG และผู้นำด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ BNP Paribas Asset Management เผยว่า BBFAW เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนได้รับข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการของบริษัทอาหารแต่ละแห่ง โดยเฉพาะบริษัทที่บริหารจัดการทั้งระบบสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม และให้ความสำคัญกับประเด็นสำคัญทางธุรกิจ เช่น ชื่อเสียง ห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น และการดื้อยาต้านจุลชีพ จะได้รับการยกย่อง ปีนี้ผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ว่าบริษัทใดที่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง”

โจนาธาน เบย์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ จาก NEI Investments กล่าวว่า “สำหรับนักลงทุน การยึดถือเกณฑ์มาตรฐานในอุตสาหกรรมอาหารเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ในฟาร์ม (BBFAW) ถือเป็นกรอบสำคัญในการประเมินและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสัตว์ในฟาร์ม BBFAW กระตุ้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการจัดอันดับผลการดำเนินงานของบริษัท การมุ่งมั่นในการดูแลสัตว์ที่แสดงผ่านผลกระทบที่มีนัยสำคัญในการดำเนินงานนั้นกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นในการสร้างธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นและมีความรับผิดชอบ ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป”

Kitchen & Home

Kitchen & Home

หลากหลายเรื่องราวน่ารู้คู่ครัว การตกแต่งบ้าน งานดีไซน์ และไลฟ์สไตล์